ใบขับขี่ หรือ ใบอนุญาตขับขี่ ออกโดยกรมการขนส่งทางบก โดยมีวัตถุประสงค์การออกใบขับขี่ตามลักษณะของประเภทยานพาหนะ ซึ่งได้กำหนดเอาไว้หลากหลายรูปแบบ แต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน และระบุเจาะจงให้สามารถใช้เพื่อขับรถตามแต่ละประเภทเอาไว้อย่างชัดเจน ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการขับขี่ได้ถูกกำหนดให้บุคคลผู้ที่มาขออนุญาตการขับขี่ได้เลือกสอบใบขับขี่ตามลักษณะความจำเป็นของการใช้งาน เพื่อเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ความต้องการที่จะใช้ในการขับขี่รถจริง ๆ กฎการจราจรบนท้องถนนผู้ขับขี่ทุก ๆ คน ควรประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับตนเอง เพื่อนร่วมทาง ป้องกันการสูญอวัยวะ เสียชีวิต ทรัพย์สิน “ขับรถด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท ถึงจุดหมายปลายทางชัวร์”
ก่อนที่จะนำรถออกมาใช้ขับขี่บนท้องถนน แค่ขับรถเป็น หรือขับรถได้ เป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างมหันต์ เพราะผู้ที่จะสามารถขับขี่รถยนต์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองบนถนนนั้น ความสำคัญ ก็คือ ต้องได้รับใบขับขี่ ที่ได้มาจากการอบรมให้ครบตามชั่วโมงที่กรมขนส่งทางบกเป็นผู้กำหนด ทั้งการสอบในภาคทฤษฎี และการสอบในภาคปฏิบัติ
มาทำความรู้จัก!!!ใบขับขี่ประเภท ท.1 – ท.4 กัน
ใบขับขี่สำหรับรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ ผู้ถือใบอนุญาตมีความจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนตามหลักเกณฑ์ของกรมขนส่งทางบก ในเบื้องต้นต้องตรวจประวัติอาชญากรเพิ่มเติมด้วย จึงจำเป็นต้องแบ่งประเภทใบขับขี่ ดังนี้
1. ท.1 หมายถึง ใบขับขี่ประเภทชนิดที่หนึ่ง
การใช้งาน : คือ รถยนต์สาธารณะทุกประเภท เป็นรถยนต์บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินจำนวน 20 คน หรือสิ่งของต้องมีปริมาณน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกิน 3,500 กิโลกรัม
ข้อกำหนดพิเศษ
- เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลป้ายดำ
- เป็นรถรับจ้างป้ายเหลือง
- ผู้ขอใบอนุญาตต้องมีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป
2. ท.2 หมายถึง ใบขับขี่ประเภทชนิดที่สอง
การใช้งาน : คือ รถยนต์สาธารณะทุกประเภท บรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวน 20 คนได้หรือสิ่งของต้องมีน้ำหนักบรรทุกปริมาณรวมกันเกิน 3,500 กิโลกรัม
ข้อกำหนดพิเศษ
- เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลป้ายดำ
- เป็นรถรับจ้างป้ายเหลือง รถบรรทุก, รถสิบล้อ, รถหกล้อ, รถบัส, รถเมล์, รถตู้
- ผู้ขอใบอนุญาตต้องมีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป
3. ท.3 หมายถึง ใบขับขี่ประเภทชนิดที่สาม
การใช้งาน : คือ รถยนต์สาธารณะทุกประเภท รถยนต์ลากจูง, รถสิบล้อแบบพ่วง, รถหัวลาก, รถล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่บนล้อเลื่อนนั้น
ขอกำหนดพิเศษ ลักษณะคล้ายประเภท ท.1
- เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลป้ายดำ
- เป็นรถรับจ้างป้ายเหลือง
- ผู้ขอใบอนุญาตต้องมีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไปเท่านั้น
4. ท.4 หมายถึง ใบขับขี่ประเภทชนิดที่สี่
การใช้งาน : คือ รถยนตที่ใช้สำหรับบรรทุกวัตถุอันตราย ทั้งส่วนบุคคล และสาธารณะ, รถบรรทุกของเหลวเป็นประเภทที่มีความปลอดภัยสูง, รถบรรทุกวัสดุอันตราย เช่น วัสดุไวไฟ ก๊าซ น้ำมันเชื้อเพลิง วัตถุระเบิด สารเคมี ที่มีลักษณะเฉพาะ หรือมีป้ายเตือนเอาไว้อย่างชัดเจน
รวมไปถึงรถผสมซีเมนต์ รถบรรทุกเครื่องดื่ม รถขนขยะมูลฝอย รถราดยาง หรือรถเครื่องบรรทุกเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ
ขอกำหนดพิเศษ
- เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลป้ายดำ
- เป็นรถรับจ้างป้ายเหลือง
- ผู้ขอใบอนุญาตต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปเท่านั้น
จากความแตกต่างของ ใบขับขี่ประเภท ท.1 – ท.4 สำหรับใช้ขับรถให้ตรงตามประเภท ให้ถูกกฎหมาย ผู้มีความประสงค์จะขับขี่ สามารถติดต่อขอทำใบอนุญาตขับขี่ได้ที่สำนักงานขนส่งพื้นที่ใดก็ได้ที่สะดวก
ข้อควรระวัง!!! ต้องลงทะเบียนผ่านเว็ปไซค์ เพื่อนัดคิวเลือกวันและเวลาที่สะดวกในระบบอินเตอร์เน็ทอัตโนมัติ และเมื่อถึงกำหนดวันไปทำใบขับขี่ ควรไปรอคิวตั้งแต่เช้า ๆ เพราะประชาชนเข้ามาติดต่อรับบริการในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก
เหนือสิ่งอื่นใด ผู้ขับขี่บนท้องถนนทุก ๆ ท่าน ต้องมีสติ ไม่ประมาท เมาไม่ขับ ไม่เสพสารเสพติดที่ทำให้บั่นทองสติปัญญา และเคารพกฎกติกาจราจร พยายามรักษาอารมณ์อย่าให้ร้อน เพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้อย่างมากเลยทีเดียว
อ่านบทความเพิ่มที่ เรื่องรถน่ารู้
ขอบคุณเครดิตรูปภาพอ้างอิง : car.kapook.com