สำหรับผู้มีรถยนต์นั้น การต่อภาษีรถยนต์ในทุก ๆ ปี จะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป ซึ่งถือเป็นหน้าที่หลักของผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคน ที่จะต้องดำเนินการชำระค่าภาษีรถยนต์ประจำปีให้ถูกต้องตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ หรือการต่อทะเบียนรถ เพราะถ้าหากล่าช้าหรือหลงลืมไป และไม่ได้ไปต่อภาษีรถยนต์ อาจจะต้องเสียค่าปรับ และอาจจะถูกระงับการต่อทะเบียนรถยนต์ได้นั้นเอง เดี๋ยวนี้!!!ค่อนข้างสะดวกขึ้นเยอะ เนื่องจากไม่ต้องไปถึงกรมขนส่งก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้แล้ว แค่เพียงต้องเตรียมเอกสารการต่อภาษีรถยนต์ให้พร้อมก่อนดำเนินการยื่นชำระค่าต่อภาษี แล้วจะต้องไปต่อภาษีรถยนต์ที่ไหนกันได้บ้าง? จะเตรียมเอกสารอะไรเพื่อสำหรับการขอยื่นชำระต่อภาษีรถยนต์กันบ้าง? มาลองดูกันน๊า!!!
ช่องทางการต่อภาษีรถยนต์
หลาย ๆ คน คงมีคำถามในใจว่า วันหยุดราชการไปต่อภาษีรถยนต์ได้ไหม? ตอบได้เลยว่าสามารถดำเนินการต่อภาษีได้ ทุกประเภทรถยนต์
– รย.1 คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
– รย.2 คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
– รย.3 คือ รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
– รย.12 คือ รถจักรยานยนต์
– รย.13 คือ รถแทรกเตอร์
– รย.14 คือ รถบดถนน
– รย.16 คือ รถพ่วง
1. สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
เปิดให้บริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 น. – 16.30 น.
2. บริการรับชำระภาษีแบบเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
ช่องทางนี้ไม่ต้องลงจากรถก็สามารถทำการต่อภาษีรถยนต์ได้เลย และ มีตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ ที่ไม่ต้องพบเจ้าหน้าที่ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.30 น. – 15.30 น.
3. ต่อภาษีรถยนต์ช่องทางออนไลน์
เว็บไซต์ E-Service https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf ตลอด 24 ชั่วโมง
4. ที่ทำการไปรษณีย์
เปิดให้บริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.00 น. – 18.00 น. ในวันเสาร์, วันอาทิตย์, วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดชดเชยพิเศษ ตั้งแต่เวลา 9.00 น. – 17.00 น.
5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
สามารถขอยื่นชำระต่อภาษีรถยนต์ประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนที่จะครบกำหนดวันเสียภาษี
6. จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
เงื่อนไขต้องเป็นรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานที่ไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่ต้องมีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี
7. ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)”
– ห้างบิ๊กซี เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งหมดจำนวน 14 สาขา ตั้งแต่เวลา 09.00 น. – 17.00 น.ประกอบด้วยสาขา ลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, เพชรเกษม, บางบอน, บางปะกอก, อ่อนนุช, สุขาภิบาล3, บางนา, สมุทรปราการ, สำโรง, แจ้งวัฒนะ, บางใหญ่, สุวินทวงศ์
– ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ตั้งแต่เวลา 11.00 – 18.00 น.
– ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขารามอินทรา ตั้งแต่เวลา 10.00 – 17.00 น
– ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 17.00 น.
8. ศูนย์บริการร่วมคมนาคม
เปิดให้บริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 15.00 น. สำนักงานอยู่เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
เอกสารต่อภาษีรถยนต์ใช้อะไรบ้าง
เอกสารการต่อภาษีที่ต้องเตรียมก่อนไปชำระภาษีประจำปี ประกอบด้วย
1. เล่มทะเบียนรถยนต์
รถทุกคันจะต้องมีเล่มทะเบียนรถยนต์ แต่หากยังติดไฟแนนซ์อยู่ จะใช้สำเนาทะเบียนรถได้ พกติดรถยนต์เอาไว้เสมอ
2.พรบ.
คือ ประกันภัยภาคบังคับ (พรบ.) “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกต้องทำและต่ออายุทุกปี
3. ตรอ.
สำหรับรถยนต์ที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไป จะต้องมีใบตรวจ ตรอ. คือ “ใบตรวจสภาพรถยนต์” จากสถานตรวจสภาพรถเอกชน เป็นเอกสารต่อภาษีรถยนต์ที่สำคัญมาก ๆ
ค่าตรวจสภาพรถมีข้อกำหนดจากกรมการขนส่งทางบก ให้ใช้ราคาเดียวกันทั่วทั้งประเทศ
– รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
– รถยนต์ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท
– รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท
4. รถติดตั้งแก๊ส
สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส NGV หรือ LPG ต้องนำรถยนต์ตรวจสภาพถังก๊าซ อุปกรณ์ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ จะได้รับเอกสาร “ใบวิศวะจากผู้ตรวจ”
– NGV : ตรวจสภาพทุกปี
– LPG : ตรวจสภาพทุก ๆ 5 ปี
– CNG ที่ติดตั้งมาแล้วพร้อม ๆ กับการซื้อรถยนต์ : กรณี 3 ปีแรกยังไม่ต้องตรวจสภาพ แต่หลังจากปีที่ 3 ไปแล้ว จะต้องตรวจสภาพ ก่อนดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ ทุกปี
ข้อควรระวัง!!!
– กรณีต่อภาษีรถยนต์ล่าช้าหลังวันหลังวันที่ระบุแล้ว จะมีค่าปรับ ร้อยละ 1 ต่อเดือนครับ
– กรณีไม่ต่อภาษีรถยนต์เกิน 1 ปี ต้องนำไปตรวจสภาพรถที่สำนักงานขนส่งเท่านั้น พร้อมชำระเสียภาษีที่ที่เลย
– กรณีไม่ต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี รถจะถูกยกเลิกป้ายทะเบียนทันที ซึ่งต้องไปติดต่อทำเรื่องที่สำนักงานขนส่ง พร้อมทั้งตรวจสภาพรถและชำระค่าภาษีที่นี่เท่านั้น
การได้รับ “แผ่นป้ายทะเบียนภาษี” ก็ต่อเมื่อหลังจากชำระต่อภาษีรถยนต์ประจำปีเรียบร้อยแล้ว ด้วยสถานที่และเอกสารที่ไม่ซับซ้อน ควรต่อภาษีล่วงหน้าไว้แน่เนิ่น ๆ จะดีกว่า และอย่าลืม !!! และทุกครั้งที่ออกสตาร์รถและขับขี่บนท้องถนน ต้องไม่ประมาท มีสติ เมาไม่ขับ ไม่เสพสารเสพติดที่เป็นบ่อเกิดบั่นทอนสติปัญญา ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้
ขอบคุณเครดิตรูปภาพอ้างอิง : hondaleasing.com
อ่านบทความเพิ่มที่ เรื่องรถน่ารู้